สุขภาพจิตแย่จริงหรือ? ผลกระทบที่แท้จริงกับเวลาในการเสพติดหน้าจอมือถือของเด็ก

ต้องเรียกได้ว่ามีรายงานวิจัยออกมาเรื่อย ๆ สำหรับผลกระทบของเวลาที่ใช้กับสมาร์ทโฟนที่มีผลกระทบต่อเด็ก ๆ

กลุ่มที่มีชื่อว่า Smartphone-Free Childhood ซึ่งมีผู้ติดตามมากกว่า 60,000 คน ที่มาร่วมถกเถียงกันในเรื่องการหาวิธีการให้ลูก ๆ ของพวกเขาไม่ให้เข้าใกล้มือถือสมาร์ทโฟนที่พวกเขามองว่ามีพิษร้ายแรงต่อเด็ก

กลุ่มนี้ตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ ไม่ใช่กลุ่มเดียวที่มีความกังวลกับผลกระทบของสมาร์ทโฟนกันเด็ก

เมื่อเดือนที่ผ่านมารัฐฟลอริดาได้ออกกฎหมายห้ามเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปีใช้โซเชียลมีเดีย ฟากฝั่งรัฐบาลอังกฤษก็กำลังพิจารณาห้ามไม่ให้ขายโทรศัพท์มือถือให้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี

ต้องบอกว่าข้อกังวลเหล่านี้มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ในหนังสือเล่มใหม่ที่มีชื่อว่า “The Anxious Generation” ของ Jonathan Haidt ซึ่งกล่าวว่าสมาร์ทโฟนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายโซเชียลมีเดียที่เข้าถึงได้ผ่านสมาร์ทโฟนนั้นกำลังเปลี่ยนแปลงวัยเด็กไปในทิศทางที่เป็นอันตรายอย่างยิ่ง

ในการถกเถียงกันในหัวข้อดังกล่าวมีสองเรื่องที่ค่อนข้างชัดเจนมาก ๆ ก็คือ สมาร์ทโฟนและโซเชียลมีเดียกลายเป็นส่วนสำคัญของวัยเด็กไปแล้ว

ตามการวิจัยในประเทศอังกฤษเมื่ออายุได้ 12 ปี เด็กเกือบทุกคนจะมีโทรศัพท์มือถือ และเมื่อพวกเขาได้รับโทรศัพท์ไปแล้ว โซเชียลมีเดียจะเป็นสิ่งที่พวกเขาใช้เวลาส่วนใหญ่บนหน้าจอ

จากการสำรวจของ Gallup วัยรุ่นชาวอเมริกันใช้เวลากับแอปโซเชียลมีเดียประมาณ 5 ชั่วโมงต่อวัน Youtube , TikTok และ Instagram เป็นที่นิยมมากที่สุด ส่วน Facebook ที่เป็นเครือข่ายโซเชียลมีเดียที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่อันดับรั้งท้ายสำหรับกลุ่มวัยรุ่น

ส่วนที่สองก็คือ ส่วนใหญ่จะเห็นพ้องต้องกันว่าในหมู่ประเทศพัฒนาแล้ว จะมีการเสื่อมถอยของสุขภาพจิตในหมู่เยาวชน

สัดส่วนของวัยรุ่นอเมริกันที่รายงานว่าตนเองมีภาวะซึมเศร้าอย่างหนักอย่างน้อยหนึ่งครั้งในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นมากกว่า 150%

โดยใน 17 ประเทศที่มีฐานะร่ำรวยหรือเป็นประเทศพัฒนาแล้ว มีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจของอัตราการฆ่าตัวตายในหมู่วัยรุ่นโดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิง

ต้องบอกว่าปรากกฎการณ์เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความเชื่อมโยงกันแทบจะทั้งสิ้น สุขภาพจิตของเด็กเริ่มตกต่ำลงพร้อม ๆ กับการเติบโตของสมาร์ทโฟนและแอปเครือข่ายโซเชียลมีเดียในช่วงทศวรรษ 2010

ในปี 2017 Roberto Mosquery จาก Unversidad de las Americas และเพื่อนร่วมงาน ให้กลุ่มทดลองที่เป็นผู้ใช้ facebook ในอเมริกาหยุดใช้แพลตฟอร์มนี้เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ผู้ที่งดใช้ facebook รายงานพวกเขามีอารการซึมเศร้าน้อยลง และมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น แถมยังบริโภคข่าวสารน้อยลง

ในปี 2018 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและนิวยอร์กได้ทำการทดลองในลักษณะเดียวกันอีกครั้งโดยให้กลุ่มตัวอย่างในอเมริกาหยุดใช้ facebook เป็นเวลาหนึ่งเดือน

นั่นทำให้คนกลุ่มดังกล่าวรู้สึกมีความสุขเพิ่มขึ้น ใช้เวลาอยู่บนโลกออนไลน์น้อยลง ใช้เวลากับครอบครัวและเพื่อนมากขึ้น และมีความคิดเห็นทางการเมืองแบบสุดโต่งที่น้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัด

อย่างไรก็ตาม การทดลองแบบสุ่มดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่แล้วทำกับผู้ใหญ่ ซึ่งไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหลักที่น่ากังวล และส่วนใหญ่เน้นศึกษาไปที่ facebook เป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันไม่ได้เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่นอีกต่อไปแล้ว

และที่สำคัญความสัมพันธ์ของมนุษย์เราก็เครือข่ายโซเชียลมีเดียก็มีความซับซ้อนเกินกว่าที่จะจำแนกมันง่าย ๆ เหมือนในอดีต

การทดลองของ Mosquery ที่พบว่า แม้คนจะบอกว่าเขามีความสุขมากขึ้นเมื่อไม่ได้ใช้ facebook แต่ยังไง facebook ก็ยังมีประโยชน์อีกด้านหนึ่งเช่นเดียวกัน

หลังจากงดใช้งาน facebook เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ กลุ่มทดลองดังกล่าวกลับพบว่าพวกเขาประเมินคุณค่าของ facebook สูงขึ้นกว่าเดิมเสียอีก

การถามว่าโซเชียลมีเดีย ดีหรือไม่ดี ต่อสุขภาพจิตนั้นผิดตั้งแต่ต้นแล้ว Peter Etechells จากมหาวิทยาลัย Bath Spa ผู้แต่งหนังสือ “Unlocked” ซึ่งมีมุมมองที่เป็นกลางมากกว่าเกี่ยวกับเวลาในการใช้กับหน้าจอมือถือ กล่าวว่า คำถามที่น่าสนใจคือ “ทำไมบางคนจึงประสบความสำเร็จมากขึ้นจากการเสพสิ่งเหล่านี้?”

แล้วทำไมถึงต้องมีการห้ามเพียงแค่โซเชียลมีเดีย ทั้งที่มันมีอีกหลายสิ่งเช่นเกมอย่าง “Fornite” ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อเด็ก ๆ ได้เช่นเดียวกัน

Dr. Gentzkow ผู้ที่สนับสนุนให้เพิ่มอายุขั้นต่ำสำหรับโซเชียลมีเดียบางแพลตฟอร์ม เตือนว่าไม่ควรที่จะจำกัดทั้งหมดในมาตรฐานเดียวกัน เพราะแอปโซเชียลมีเดียส่วนใหญ่มีฟังก์ชันที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถนำมาใช้ในทางที่เป็นมุมบวกหรือมุมลบก็ได้

แม้ผู้เชี่ยวชาญจะพยายามเสนอแนะให้ควบคุมเครือข่ายโซเชียลมีเดีย แต่สถานการณ์ ณ ปัจจุบันต้องบอกว่า ผู้ใช้ทั่วไปส่วนใหญ่กำลังทำสิ่งนั้นด้วยตนเอง

การโพสต์เกี่ยวกับตนเองต่อสาธารณะกำลังลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในปีที่แล้วมีเพียง 28% ของชาวอเมริกันที่บอกว่าชอบโชว์ชีวิตตนเองบนโลกออนไลน์ ลดลงจาก 40% ในปี 2020 ตามการสำรวจของบริษัทวิจัย

การสื่อสารในเครือข่ายโซเชียลมีเดียเหล่านี้กำลังเปลี่ยนแปลงจากการเปิด publc แบบสาธารณะไปสู่การสนทนาแบบส่วนตัวมากยิ่งขึ้น บนเครือข่ายอย่าง Instagram ขณะนี้มีการแชร์ภาพผ่าน inbox message ส่วนตัวมากกว่าการโพสต์บนฟีดหลัก

ในขณะที่ผู้ใหญ่บางคนกำลังกลัวปัญหาของเครือข่ายโซเชียลมีเดียเหล่านี้ แต่คนรุ่นใหม่อาจจะก้าวข้ามสิ่งที่พวกเขากังวลไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

บทสรุป

แม้จะมีข้อกังวลเกี่ยวกับผลกระทบด้านลบของการใช้สมาร์ทโฟนและเครือข่ายโซเชียลมีเดียต่อสุขภาพจิตของเด็ก แต่หลักฐานเชิงประจักษ์นั้นยังมีอยู่อย่างจำกัดมาก ๆ

การศึกษาส่วนใหญ่ที่ผ่านมาจะมุ่งเน้นไปที่ผู้ใหญ่และแพลตฟอร์มเฉพาะอย่าง facebook มากกว่าแอปอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมมากกว่าในหมู่กลุ่มวัยรุ่น

ความสัมพันธ์ของมนุษย์เรากับสื่อสังคมออนไลน์ก็เริ่มมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ บางคนดูจะได้ประโยชน์จากมันในขณะที่บางคนก็ประสบกับปัญหา การแบนหรือบังคับห้ามใช้งานนั้นดูเหมือนมันจะไม่ใช่ทางออกของปัญหาในระยะยาว

เพราะตอนนี้มันเริ่มมีสัญญาณโดยเฉพาะจากกลุ่มคนรุ่นใหม่เองที่กำลังปรับตัวเพื่อใช้ประโยชน์จากเครือข่ายโซเชียลมีเดียเหล่านี้ที่หลาย ๆ คนมองว่าเป็นพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเองครับผม

References :
https://www.economist.com/science-and-technology/2024/04/17/what-is-screen-times-doing-to-children
https://www.theguardian.com/technology/2024/feb/17/thousands-join-uk-parents-calling-for-smartphone-free-childhood
https://smartphonefreechildhood.co.uk/

Geek Talk EP41 : Together Treble Winners กับบทเรียนความเป็นผู้นำจาก Pep Guardiola

ในวงการผู้ฝึกสอนและผู้จัดการทีมมืออาชีพนั้นไม่มีชื่อไหนที่จะดังกระฉ่อนโลกได้มากไปกว่าชื่อของ Pep Guardiola โดยเขาเป็นที่รู้จักในด้านบุคลิกที่น่าสนใจ และความสำเร็จขั้นสูงสุดในการคุมทีมฟุตบอล แนวทางการนำทีมของ Guardiola นั้นได้ดึงดูดความสนใจทั้งจากคนในวงการกีฬาและผู้นำองค์กรธุรกิจเป็นอย่างมาก

จากสารคดีชุดใหม่ของ Netflix อย่าง Together : Treble Winners นั้นรูปแบบการคุมทีมของ Guardiola สามารถเปิดเผยบทเรียนที่มีค่าซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสภาพแวดล้อมธุรกิจที่ท้าทายได้ ซึ่งความคล้ายคลึงระหว่างปรัชญาการคุมทีมของ Guardiola กับการเป็นผู้นำองค์กรธุรกิจ วิธีการของเขาสามารถสร้างแรงบันดาลใจและสร้างพลังแก่ทีมงานระดับท็อปในสถานการณ์ที่มีความท้าทายสูงสุดได้อย่างไร

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/yxbcetjf

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/2wjhke24

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/2s3nj497

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
 https://tinyurl.com/mr29a53s

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/tp45mmnolNs

CHIP WAR จากการคัดลอกสู่การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของญี่ปุ่น

ถ้าย้อนกลับไปมองประเทศญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเรียกได้ว่าญี่ปุ่นได้กลายเป็นประเทศที่แทบจะแตกสลาย ญี่ปุ่นเองโดนระเบิดนิวเคลียร์ไปถึงสองลูกที่เมืองนางาซากิและฮิโรชิมาอย่างที่เราได้รับรู้กัน

แต่พวกเขาสามารถที่จะพลิกประเทศกลับมารวดเร็วได้อย่างน่าเหลือเชื่อมากๆ ซึ่งก็ต้องบอกว่าอุตสาหกรรมชิปเองก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ญี่ปุ่นพลิกประเทศให้กลายมาเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วสามารถต่อสู้กับสหรัฐอเมริกาและกลายเป็นศัตรูที่สำคัญทางด้านเศรษฐกิจของอเมริกาได้

ในช่วงแรกแม้ญี่ปุ่นจะไม่มีผู้เชี่ยวชาญมีวิศวกรระดับสูงเหมือนที่ซิลิคอนวัลเลย์ในอเมริกามี แต่พวกเขาอาศัยรูปแบบของการก๊อปปี้หรือคัดลอกเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาเป็นหลักก่อน

มันเป็นเรื่องปรกติมากในยุคนั้นที่หลาย ๆ ประเทศก็ใช้วิธีการแบบนี้ คือการคัดลอกเทคโนโลยีจากสหรัฐอเมริกา เพื่อนำมาเรียนรู้และพัฒนาด้วยตัวเองด้วยต้นทุนด้านต่าง ๆ ที่ต่ำกว่า

สหรัฐอเมริกาอาจจะเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมที่สุดล้ำมากมาย แต่ก็นำไปใช้ในวงการทหารเป็นหลัก แต่ญี่ปุ่นมีวิสัยทัศน์อีกแบบนึง พวกเขาแทบจะไม่มีกองทัพเป็นของตนเองหลังจากสงครามโลก การที่จะสร้างอุตสาหกรรมใหม่และทำให้พวกเขาสามารถที่จะจำหน่ายไปทั่วโลกได้ก็ต้องเป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการอุปโภคบริโภคโดยคนทั่วไป

ความน่าสนใจก็คือหลังจากที่โตเกียวถูกทิ้งระเบิดราบเป็นหน้ากอง พวกเขาสามารถที่จะเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ ๆ จากนักฟิสิกส์ชั้นนำของอเมริกา เพราะว่าสำนักงานใหญ่ขององค์กรต่าง ๆ ของสหรัฐอยู่ในโตเกียวแทบจะทั้งหมด และได้อนุญาตให้นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นเข้าถึง know-how ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องงานวิจัยที่เกี่ยวกับแอพพลายฟิสิกส์ รวมถึงเทคโนโลยีอื่น ๆ

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดนั่นก็คือ อากิโอะ โมริตะ ที่ได้ก้าวเข้ามาในธุรกิจนี้แม้ตอนแรก โมริตะ จะทำธุรกิจโรงกลั่นสาเกซึ่งถือว่าเป็นโรงกลั่นที่โดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น

แต่โมริตะชื่นชอบในการซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เขาเรียนจบปริญญาด้านฟิสิกส์ ซึ่งความเชี่ยวชาญด้านฟิสิกส์นี่เองที่ช่วยชีวิตเขา โดยโมริตะร่วมมือกับอดีตผู้ร่วมงานชื่อ มาซารุ อิบุกะ สร้างธุรกิจทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมา

ต่อมาพวกเขาก็ตั้งชื่อบริษัทว่า Sony มาจากภาษาละติน Sonus ที่แปลว่าเสียง และยังใช้ชื่อเล่นแบบอเมริกันว่า Sunny อุปกรณ์ชิ้นแรกของพวกเขาคือหม้อหุงข้าวไฟฟ้าที่ตอนนั้นต้องบอกว่ามันเป็นสินค้าที่ดูไร้เสน่ห์เป็นอย่างมาก

โมริตะร่วมมือกับอดีตผู้ร่วมงานชื่อ มาซารุ อิบุกะ สร้างบริษัท Sony ขึ้นมา (CR:GettyImage)
โมริตะร่วมมือกับอดีตผู้ร่วมงานชื่อ มาซารุ อิบุกะ สร้างบริษัท Sony ขึ้นมา (CR:GettyImage)

แต่โมริตะเห็นถึงศักยภาพของอุปกรณ์อิเล็กทรอนนิกส์ว่ามันคืออนาคตของเศรษฐกิจโลก Sony เองได้ประโยชน์จากการมีค่าแรงที่ถูกกว่าในญี่ปุ่น รวมถึงโมริตะมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบผลิตภัณฑ์และการตลาด

บริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งมีชื่อเสียงในการผลิตเป็นเลิศ โดยสามารถสร้างตลาดใหม่ ด้วยวงจรเทคโนโลยีใหม่ ๆ ของซิลิคอนวัลเลย์ แผนของโมริตะก็คือการชี้นำประชาชนด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แทนที่จะถามพวกเขาว่าต้องการผลิตภัณฑ์ประเภทใด  

มันเป็นสิ่งที่ที่ไม่น่าแปลกใจที่ สตีฟ จ็อบส์ อดีตซีอีโอผู้ล่วงลับของ Apple นั้นก็ได้รับแรงบันดาลใจที่สำคัญจากโมริตะ จนถึงขึ้นที่จ็อบส์เองต้องการสร้าง Apple ให้เหมือน Sony ซึ่งจ็อบส์มักจะนึกถึงการเปลี่ยนแปลงโลกมากกว่าการทำกำไรให้กับบริษัท และมีวิสัยทัศน์แบบเดียวกับโมริตะในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต่างหลงรัก

ความสำเร็จแรกของ Sony ในการเข้าสู่ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ก็คือวิทยุทรานซิสเตอร์ แต่ตอนนั้นพวกเขาก็ไม่มีปัญญาที่จะสร้างชิปขึ้นมาเองต้องพึ่งพาบริษัทในสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะจากซิลิคอนวัลเลย์

ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่ก็มีการป้อนชิปเหล่านี้ให้กับญี่ปุ่น ดังนั้นถ้าอเมริกาเองก็ไม่คิดว่าญี่ปุ่นจะสามารถสร้างเทคโนโลยีสุดล้ำอะไรได้มากมาย พวกเขาจึงไม่ได้มีการระแวดระวังมากนักในการป้องกันทรัพย์สินทางปัญญาของพวกเขา

ในช่วงแรกทั้งสองประเทศก็มีความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างเกื้อหนุนกัน เพราะว่าในสหรัฐอเมริกาสามารถสร้างคอมพิวเตอร์ได้ดีที่สุด แต่ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในญี่ปุ่นอย่าง Sony ก็จะผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขับเคลื่อนการบริโภคชิปที่ผลิตโดยสหรัฐอเมริกา

ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่ออเมริกามาลงทุนเปิดโรงงานผลิตชิปที่ประเทศใดก็จะมีการถ่ายทอดเรื่องของเทคโนโลยีให้กับวิศวกรในประเทศนั้น ๆ ซึ่งจะได้เรียนรู้วิธีการผลิตหรือถึงขั้นอาจจะสามารถคัดลอกนวัตกรรมบางอย่างมาได้เลย

ยักษ์ใหญ่ด้านเซมิคอนดักเตอร์อย่างเท็กซัส อินสตรูเมนต์ ที่พยายามจะเข้ามาเปิดโรงงานในญี่ปุ่น แต่พวกเขาก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคด้านกฎหมายมากมาย แต่โมริตะสามารถไปช่วยเคลียร์กับหน่วยงานรัฐต่าง ๆ ให้ทางเท็กซัส อินสตรูเมนต์มาสร้างโรงงานได้สำเร็จ

นั่นเองที่เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการคิดที่จะสร้างชิปด้วยตัวเองของประเทศญี่ปุ่น และเมื่อเวลาผ่านไป บริษัทอเมริกันอย่างอินเทลหรือเท็กซัส อินสตรูเมนต์ รวมถึงบริษัทญี่ปุ่นอย่างโตชิบาหรือเอ็นอีซีก็สามารถที่จะสร้างชิปหน่วยความจำดีแรมของตัวเองขึ้นมาได้สำเร็จ

ตอนนั้นอเมริกาก็มองญี่ปุ่นแบบตลก ๆ ว่าคงเป็นนวัตกรรมที่ไม่ได้เลิศหรูอะไรแต่อย่างใด แต่ว่าเมื่อผลิตไปจริงๆ แล้ว กลับพบว่าชิปที่ผลิตจากญี่ปุ่นกลับมีคุณภาพที่ดีกว่าบริษัทคู่แข่งในสหรัฐอเมริกา  

ชิปที่ผลิตในสหรัฐฯ ทำงานผิดพลาดถึง 4 เท่าครึ่ง เมื่อเทียบกับการทำงานของชิปที่ผลิตโดยประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่างกันมาก นั่นทำให้ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์แม้กระทั่งในอเมริกาเองก็ตาม เริ่มที่จะหันมามองชิปจากบริษัทในประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น

ชิปที่ผลิตโดยประเทศญี่ปุ่นได้รับการยอมรับมากขึ้นในตลาดโลก (CR:Escape Authority)
ชิปที่ผลิตโดยประเทศญี่ปุ่นได้รับการยอมรับมากขึ้นในตลาดโลก (CR:Escape Authority)

แล้วที่สำคัญก็คือพวกเขาสามารถทำราคาได้ถูกมากๆ ด้วยต้นทุนด้านแรงงานรวมถึงต้นทุนในการจัดหาเงินกู้ ด้วยการอุดหนุนจากรัฐบาลที่มีนโยบายช่วยเหลือเกื้อกูลบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น เพราะทางรัฐบาลต้องการผลักดันให้ประเทศเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์  

ความเข้าใจในยุคก่อนหน้าของผลิตภัณฑ์จากญี่ปุ่นที่เป็นสินค้าราคาถูก ไร้คุณภาพ แต่แบรนด์อย่าง Sony ได้ทำให้ชื่อเสียงด้านแย่ ๆ เหล่านี้หมดไป ด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์ราคาไม่แพง คุณภาพสูงเทียบเท่ากับคู่แข่งในอเมริกา

นั่นเองที่ทำให้ชาวญี่ปุ่นกล้าที่จะตั้งเป้าหมายที่สูงขึ้นไปอีก ในการท้าทายอุตสาหกรรมของอเมริกาตั้งแต่รถยนต์ไปจนถึงเซมิคอนดักเตอร์ซึ่งต้องบอกว่าทำให้อเมริกาเองต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากญี่ปุ่น

ในช่วงปี 1980 อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคได้กลายเป็นสินค้าเฉพาะของญี่ปุ่น ซึ่งพวกเขาได้กลายเป็นผู้นำในการเปิดตัวสินค้าอุปโภคบริโภคใหม่ ๆ และสามารถคว้าส่วนแบ่งการตลาดจากคู่แข่งในอเมริกา

แม้ในช่วงแรกบริษัทญี่ปุ่นจะประสบความสำเร็จด้วยการเลียนแบบผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งในสหรัฐฯ โดยผลิตให้มีคุณภาพสูงขึ้นและราคาที่ถูกลง ชาวญี่ปุ่นบางคนมองว่าพวกเขาเก่งในการนำทฤษฎีไปปฏิบัติในขณะที่อเมริกาเก่งกว่าพวกเขาในด้านการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ

ในปี 1979  Sony ได้เปิดตัวอุปกรณ์อย่าง Walkman ซึ่งเป็นเครื่องเล่นเพลงแบบพกพาที่ปฏิวัติวงการเพลงโดยสิ้นเชิงโดยการสร้างวงจรชิปที่ทันสมัยของบริษัท

อุปกรณ์อย่าง Walkman นี่เองที่วัยรุ่นทั่วโลกสามารถพกพาเพลงโปรดใส่ในกระเป๋าและใช้พลังงานจากชิปที่บุกเบิกจากซิลิคอนวัลเลย์แต่พัฒนาในญี่ปุ่น ทำให้ Sony ขายไปได้กว่า 385 ล้านเครื่องทั่วโลก ทำให้ Walkman กลายเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำหรับผู้บริโภคที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประวัติศาสตร์และเป็นนวัตกรรมที่บริสุทธิ์ที่สุดที่ผลิตในญี่ปุ่น

Walkman ซึ่งเป็นเครื่องเล่นเพลงแบบพกพาที่ปฏิวัติวงการเพลงโดยสิ้นเชิง (CR:The Verge)
Walkman ซึ่งเป็นเครื่องเล่นเพลงแบบพกพาที่ปฏิวัติวงการเพลงโดยสิ้นเชิง (CR:The Verge)

ต้องบอกว่ามันมีหลายปัจจัยที่ทำให้ญี่ปุ่นสามารถก้าวเข้ามาเป็นผู้นำในอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคอิเล็กทรอนิกส์อย่างที่เราได้เห็นกันในทุกวันนี้ได้

ปัจจัยแรกก็คือเรื่องของรัฐบาลที่ช่วยอุดหนุนอุตสาหกรรมนี้อย่างเต็มที่ให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากๆ ในการเข้าถึงเงินทุนเพราะว่าชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะมีอัตราการออมที่สูงมาก ทำให้ธนาคารมีเงินสดเหลือเยอะมากๆ มาปล่อยกู้ในดอกเบี้ยที่แสนถูก

รวมถึงการที่พวกเขามีต้นทุนทางด้านแรงงานที่ต่ำกว่าอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับอเมริกา และนั่นเองที่ทำให้ในท้ายที่สุดพวกเขาก็สามารถเอาชนะอเมริกาในการแข่งขันด้านชิปในช่วงทศวรรษที่ 1980 ไปได้สำเร็จนั่นเองครับผม

References :
เรียบเรียงจากหนังสือ Chip War: The Fight for the World’s Most Critical Technology โดย Chris Miller
https://failurebeforesuccess.com/akio-morito/

“ซานตาเฟ่” ควงแม็กกี้ ครีเอทเมนูใหม่ “สเต๊กสามเกลอ” เสิร์ฟความอร่อยครบรสให้ลูกค้า

“ซานตาเฟ่” ร้านอาหารประเภทสเต๊กและอาหารสไตล์ตะวันตก ภายใต้บริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด ครีเอทเมนูใหม่ “สเต๊กสามเกลอ” ผนึก “แม็กกี้” ผู้นำซอสปรุงอาหารนำผลิตภัณฑ์ แม็กกี้ อีซี่คุ๊ก “ซอสสามเกลอ” หมักกับไก่และหมูชีวา เสิร์ฟความอร่อยเติมรสให้ลูกค้า

คุณสมบัติ หงส์ไพฑูรย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคที เรสทัวรองท์ จำกัด เปิดเผยว่า ซานตาเฟ่สเต๊ก เป็นร้านอาหารที่อยู่คู่กับผู้บริโภคชาวไทยมานานกว่า 20 ปี กลยุทธ์ที่ทำให้ร้านครองใจลูกค้าอย่างแข็งแกร่ง ด้วยการเสิร์ฟวัตถุดิบคุณภาพ และรสชาติอร่อยโดนใจ รวมถึงการสร้างสรรค์เมนูใหม่ตอบสนองกลุ่มเป้าหมาย

ล่าสุด ซาตาเฟ่ ร่วมพันธมิตรอย่างแม็กกี้ นำผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุด แม็กกี้ อีซี่คุ๊ก “ซอสสามเกลอ” ที่รวมส่วนผสม 3 ชนิด ได้แก่ กระเทียม พริกไทย และรากผักชี มาผสมผสานกันอย่างลงตัวและเพิ่มความเข้มข้น ทำให้ปรุงกับจานไหนก็อร่อย มีกลิ่นหอม ถึงเครื่องทุกเมนูไทย

พร้อมกันนี้ ยังเปิดตัวครั้งแรกกับซานตาเฟ่ ด้วยการรังสรรค์เมนูพิเศษ “สเต๊กสามเกลอ” ซึ่งเป็นการนำซอสสามเกลอหมักวัตถุดิบคุณภาพทั้งไก่ และหมูชีวา ช่วยเพิ่มความอร่อยโดน ครบรส ถึงเครื่องทุกเมนูไทยทุกจาน

ด้านคุณเครือวัลย์ วรุณไพจิตร ผู้อำนวยการบริหารหน่วยธุรกิจ เนสท์เล่ โพรเฟชชันนัล ภูมิภาคอินโดไชน่า กล่าวว่า การร่วมมือกับซานตาเฟ่ ในการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ แม็กกี้ อีซี่คุ๊ก“ซอสสามเกลอ” มารังสรรค์เมนูสเต๊กใหม่ๆ จะช่วยสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้บริโภคในการรับประทาน

อีกทั้งแนะนำให้รู้จักต่อยอดสูตรความอร่อยไปสู่ทุกครัวเรือน เพราะสามารถนำซอสสามเกลอไปหมักวัตถุดิบไก่ หมู ฯ ได้ตามต้องการ สำหรับแม็กกี้ อีซี่คุ๊ก ซอสสามเกลอ บรรจุในซอง สะดวก ใช้ง่าย ผู้บริโภคทำเมนูอร่อยได้เองที่บ้านเพียงแค่ฉีก-เท-หมัก หรือผัด ก็สามารถรังสรรค์จานโปรดได้มากกว่า 20 เมนู  

สำหรับเมนู “สเต๊กสามเกลอ” จะวางจำหน่ายพร้อมโปรโมชั่นสุดพิเศษ เซตสเต๊กไก่สามเกลอ ซอสแจ่ว พร้อมชามะนาวเย็น เพียง 149 บาท และ สเต๊กสันคอหมูชีวาสามเกลอ พร้อมชามะนาวเย็น 209 บาท พิเศษสำหรับลูกค้าที่รับประทานเมนู “สเต๊กสามเกลอ” รับฟรีซอสสามเกลอ “แม็กกี้ อีซี่คุ๊ก” กลับไปปรุงความอร่อยต่อที่บ้าน ของมีจำนวนจำกัด เชิญชวนมาลิ้มลองเมนูความอร่อยโดน ครบรส  เริ่มตั้งแต่ 23 เมษายน 2567 ถึง 25 มิถุนายน 2567 ที่ซานตาเฟ่ สเต๊ก ทุกสาขาทั่วประเทศ

Geek Monday EP223 : TikTok Notes แอปแชร์ภาพจาก TikTok ที่พร้อมท้าชน Instagram

TikTok แทบจะเป็นคู่แข่งรายใหญ่รายแรกนับตั้งแต่ Snapchat ที่มาขัดขวางตลาดที่ครอบงำโดย Facebook แต่เพียงผู้เดียวมานานแสนนานในตลาดแอปทางด้าน Social Network

และล่าสุดพวกเขาพร้อมที่จะลุยกับพี่ Mark Zuckerberg อีกครั้งหลังจากถูกแย่งชิงความนิยมจากยอดดาวน์โหลดโดย Instagram พวกเขาจึงสร้าง TikTok Notes แอปแชร์ภาพที่พร้อมมาท้าชนแบบเต็ม ๆ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/rrpube7u

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/tu5s7y4k

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/4sp3daax

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/5s_18W0PvhE